หลายท่านมีปัญหาเวลาเรียนตีกลองหรือเรียนดนตรี ทำไมต้องซ้อม บางคนบอกว่าการเรียนในห้องก็เหมือนการซ้อมแล้ว หรือคนที่ตั้งใจมากก็มักจะเจอปัญหาการซ้อมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งบางทีเราตั้งใจที่จะซ้อมทุกวัน มีการวางแผนเป็นอย่างดี มีการเขียนแผนการซ้อมล่วงหน้าว่าจะซ้อมวันไหนบ้าง วันละกี่ชั่วโมง ซ้อมเรื่องอะไรบ้าง แต่ปัญหาที่ตามมาก็คือพอถึงเวลาที่จะต้องซ้อมตามแผนกลับขี้เกียจซะอย่างนั้น หรือมีข้ออ้างต่างๆนานา 108 อย่าง ทำให้การซ้อมตามเป้าหมายที่วางไว้ไม่ประสบความสำเร็จ การฝึกนิสัยที่ดีในการซ้อมดนตรีจะต้องทำอย่างไรวันนี้ผมมีเทคนิคมาให้ตามหลักจิตวิทยาครับ ใครอยากทราบตามมาอ่านต่อเลยครับ
สำหรับทุกท่านที่มาเรียนตีกลองชุด ผมมีความเชื่ออยู่แล้วว่าทุกท่านต้องมีเป้าหมายในการเรียนอยู่แล้ว แต่การที่จะทำอย่างไรให้ได้ตามจุดประสงค์นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะดนตรีถ้าอยากจะประสบความสำเร็จสิ่งสำคัญคือการฝึกซ้อมเท่านั้นที่จะทำให้เราไปถึงฝั่งได้มากที่สุด ในบทความนี้ผมจะพูดในเฉพาะเรื่องของการสร้างนิสัยการฝึกซ้อมที่ดี ทำอย่างไรให้ฝึกซ้อมเป็นประจำและต่อเนื่อง ถ้าเป็นเรื่องการวางแผนการซ้อมสำหรับผู้ที่เรียนกับผมจะทราบดีอยู่แล้วว่าจะต้องมีวิธีการวางแผนการซ้อมอย่างไร แต่สำหรับเรื่องการวางแผนการซ้อมเดี๋ยวผมจะมาพูดในบทความต่อไปนะครับ อันดันแรกของการสร้างนิสัยที่ดีในการฝึกซ้อมนั่นก็คือการปรับทัศนคติ ก่อนที่เราจะทำการซ้อมหรือเราได้เขียนแผนการซ้อมไว้แล้วแต่ทำไมตอนถึงเวลาซ้อมที่วางไว้ยังรู้สึกว่า อยากเล่นโทรศัพท์อีกแปปนึง เดี๋ยวขอดูหนังแปปนึง ขอเล่นเกมอีกแปปนึง เดี๋ยวยังไม่มีอารมณ์ซ้อมเลยเดี๋ยวรอให้อารมณ์มาก่อนแล้วค่อยไปซ้อม ก่อนอื่นต้องทราบก่อนว่าสมองของมนุษย์เรานั้นชอบทำอะไรที่ง่ายต่อการดำรงชีวิตเพื่อเก็บแรงไว้สำหรับการหาอาหารในสมัยยุคที่มนุษย์ต้องเข้าป่าหาอาหาร มนุษย์จึงต้องเก็บแรงทำในสิ่งที่สำคัญที่สุดในแต่ละวัน นึ่เป็นวิธีคิดของกลไกลของสมอง แต่ในยุคนี้ถึงแม้เราไม่ต้องเข้าป่าเพื่อหาอาหารแล้วแต่สัญชาตญาณก็ยังคงเป็นแบบนั้นอยู่ เทคนิคแรกที่ผมจะมาแนะนำก็คือให้ใช้กฏ 2 นาที หมายถึง การวางสิ่งที่เรากำลังจะทำให้เสร็จภายใน 2 นาที เช่น วันนี้เราจะวอร์มข้อมือตีข้างละ 8 ที ประมาณ 2 นาที เพื่อฝึกความคล่องของการใช้ข้อมือ นิ้ว แขน ให้มีความสัมพันธ์กัน ทั้งหมดนี้ทำให้เสร็จภายใน 2 นาที แต่ลองให้ทำทุกๆวันเป็นกิจวัตรประจำวัน แล้วยังไงต่อ? คนเราเวลาที่เริ่มทำอะไรสิ่งที่ยากที่สุดนั้นคือการเริ่ม แต่ถ้าเราได้เริ่มไปแล้วโดยมีเป้าหมายชัดเจนว่าเป้าหมายของสิ่งที่เรากำลังทำอยู่คืออะไร เชื่อผมเถอะครับว่าตอนซ้อมจริงๆไม่ใช่ 2 นาทีแน่นอน แต่ถ้าใครทำได้ใน 2 นาที ก็ขอให้หยุดแล้วพรุ่งนี้ค่อยมาทำใหม่แต่จะต้องตั้งเป้าหมายที่เปลี่ยนไป เพราะคนเราถ้าทำอะไรซ้ำๆกันในสิ่งที่ทำได้อยู่แล้วจะเกิดสิ่งที่เรียกว่า “ความน่าเบื่อ” เพราะฉะนั้นเวลาเราซ้อมอะไรที่คิดว่าทำได้แล้วก็ควรจะตั้งเป้าหมายใหม่ที่ยากขึ้นกว่าเดิมเล็กน้อยเพื่อท้าทายตัวเอง ฝึกทำแบบนี้วนไปเรื่อยๆ แล้วพัฒนาให้มีการตั้งเป้าหมายที่ใหญ่ขึ้น แล้วเวลาที่เราจะต้องซ้อมนั้นจะไม่ใช่ 2 นาทีอีกต่อไป แต่เราต้องเริ่มด้วย 2 นาที เพื่อให้สมองเรารู้ว่าสิ่งที่เรากำลังทำใน 2 นาทีนั้นเป็นเรื่องง่ายแปปเดียวก็เสร็จ จึงทำให้เราไม่ลังเลที่จะเริ่มทำสิ่งๆนั้น เทคนิคที่ 2 คือ การจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะกับการซ้อม หมายถึง บางคนอยากซ้อมตีกลองแต่พ่อแม่กำลังทำงานอยู่ที่บ้าน บางคนอยากซ้อมกลองแต่แป้นเหยียบกระเดื่องสปริงมีปัญหาทำให้เหยียบแล้วไม่ลื่นเหมือนเก่า หรือบางคนอยากซ้อมกลองแต่ห้องซ้อมกลองอยู่อีกห้องหนึ่งซึ่งต้องเดินไปเอากุญแจมาเปิดและข้าวของกระจัดกระจายต้องจัดให้เรียบร้อยก่อนซ้อม เป็นต้น สิ่งพวกนี้เป็นสิ่งที่ทำให้การซ้อมกลองของเราอยากยิ่งขึ้น ทำให้เวลาซ้อมกลองทั้งทีทำไมอุปสรรค์เยอะจัง ดังนั้นเราจึงจัดเตรียมทุกอย่างให้ง่ายที่สุดเพื่อการซ้อมกลอง เช่น เอากลองมาวางไว้ตรงห้องนั่งเล่นเวลาเราจะดูทีวีก็คิดว่าซ้อมกลองก่อนสัก 2 นาที แล้วค่อยดูทีวีดีกว่า หรือเวลาเข้าไปที่ห้องซ้อมตีกลองแล้วสามารถนั่งแล้วตีได้เลยไม่ต้องจัดข้าวของที่รกรุงรัง การจัดสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่หลายคนมองข้ามไปเพราะคิดแต่เรื่องการวางแผนว่าจะซ้อมอะไรดี แต่พอเวลาซ้อมจริงๆแล้วไม่ได้ซ้อมสักที เลยคิดไปว่าเราวางแผนยากไปหรือเปล่า แต่จริงๆแล้วสิ่งที่เป็นปัญหาจริงๆก็คือสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบๆกลองเราต่างหากที่ทำให้เกิดอุปสรรค์ในการเดินเข้าไปหากลองเพื่อฝึกซ้อม เป็นอย่างไรบ้างครับสำหรับกฏ 2 นาทีสำหรับผู้ที่มีนิสัยโอ้เอ้ ลังเล และการจัดสิ่งแวดล้อมให้พร้อมกับการซ้อมกลอง ปัญหาเหล่านี้หลายคนอาจมองข้ามไปเพราะไปโฟกัสเรื่องการวางแผนการซ้อมแต่พอถึงเวลาซ้อมไม่ได้ซ้อมตามแผนทุกที ไอเดียของเรื่องนี้คือการทำทุกอย่างให้ง่ายที่สุด เพราะมนุษย์ทุกคนชอบทำสิ่งง่ายๆอยู่แล้วครับ แต่ก็อย่างลืมพัฒนาเรื่องการตั้งเป้าหมายที่อยากขึ้นทีละนิดเพื่อให้ชีวิตเรามีสีสันมากขึ้นด้วยนะครับ ถ้าทำอะไรซ้ำๆกันในสิ่งที่เราทำได้แล้วอาจจะเบื่อซะก่อน ยังมีอีกหลายเทคนิคที่ผมจะนำมาฝากทุกท่านอีกนะครับ สำหรับท่านใดที่มีปัญหาเรื่องการฝึกซ้อมตีกลอง หรือซ้อมดนตรี ฝากกดติดตาม กด Like กด Share กด Subscribe ช่องของผมเอาไว้เลยนะครับ รับรองว่าเทคนิคที่ผมจะนำมาสอนนั้นใช้ได้ผลจริงๆ ผมยืนยันได้ครับ เพราะเป็นหลักที่ผมได้ศึกษาจากหนังสือจิตวิทยาหลายๆเล่มและนำมาประยุกต์ใช้กับการตีกลอง และผมเคยทดลองแล้วได้ผลมาแล้วทั้งสิ้น ฝากติดตามบทความต่อๆไปของผมด้วยนะครับ ขอบพระคุณมากครับ ที่มา James Clear. (2563). Atomic Habits เพราะชีวิตดีกว่าที่เป็น (ประพาฬรัตน์ ยงมานิตชัย, แปล). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น สอนตีกลองชุดโรงเรียน Ongartdrums School โดย ครูเอิร์ธ Call : 086-066-5005 Website : www.ongartdrums.com Facebook : www.facebook.com/ongartdrums Email : [email protected] Line : earthbandbkk บทความสอนตีกลองอื่นๆ https://www.ongartdrums.com/blog.html
0 Comments
Leave a Reply. |