หลายคนอาจสงสัยว่าการซ้อมกลองทำไมต้องจัดตาราง ในเมื่อเราได้การบ้านจากอาจารย์มาทุกอาทิตย์อยู่แล้ว เราก็ซ้อมตามที่อาจารย์ได้สอนเลยสิ ไม่เห็นจะยากเลย ถูกต้องครับ การซ้อมตามที่อาจารย์ผู้สอนได้ให้การบ้านมานั้นถูกแล้ว แต่สิ่งที่ให้การซ้อมของเรามีประสิทธิภาพที่สุดนั้นก็คือการจัดตารางซ้อมเพราะการจัดตารางซ้อมจะประกอบด้วยส่วนต่างๆที่สามารถกำหนดเป้าหมาย เวลา เนื้อหา และปัญหาในการซ้อม เพื่อที่สามารถวิเคราะห์การซ้อมของตัวเองได้ และสิ่งสำคัญที่สุดนั้นก็คือเวลาซ้อมของเราจะต้องเป็นเวลาที่คุ้มค่าที่สุดดังนั้นจึงต้องมีการจัดตารางซ้อมให้เป็นระบบ วันนี้ผมจะมาแนะนำว่าตารางซ้อมกลองจะประกอบด้วยส่วนใดบ้างครับ 1. จำนวนครั้ง จำนวนครั้งของการซ้อมเป็นตัวบอกว่าเราซ้อมผ่านมากี่ครั้งแล้ว หรือสามารถเช็คได้ว่าในแต่ละแบบฝึกหัดที่เราซ้อมนั้นเราใช้เวลาไปทั้งหมดกี่ครั้งกว่าที่จะสามารถผ่านไปได้ หรืออาจจะกำหนดไว้ก่อนเลยว่าเราให้เวลากับแบบฝึกหัดที่เราจะทำการซ้อมกี่ครั้ง เพื่อให้เราได้โฟกัสการซ้อมเนื้อหานั้นๆอย่างเต็มที่ 2. เวลาและวันที่ เวลาคือการกำหนดช่วงเวลาซ้อมไว้ก่อนเพื่อจัดตารางเวลาที่เกี่ยวโยงกับชีวิตประจำวันด้วยเช่น วันนี้เรามีเวลาว่างซ้อมตอนหลังเลิกเรียน เราควรใส่เวลาและวันที่ไว้ในตารางซ้อมก่อนเลยเพื่อที่เราจะได้รู้ว่าวันนี้เราจะต้องซ้อมตอนไหน การกำหนดเวลาจะทำให้เราสร้างวินัยในการซ้อมด้วย นอกจากการกำหนดเวลาซ้อมของวันแล้ว ควรจะต้องกำหนดด้วยว่าระยะเวลาซ้อมกี่นาที การกำหนดเวลาก็ควรคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ เช่น เนื้อหาที่จะซ้อมถ้ายากก็อาจจะให้เวลาเยอะหน่อย ถ้าง่ายก็อาจจะให้เวลาน้อยหน่อยแต่ก็เปลี่ยนไปซ้อมบทเรียนอื่นๆด้วย เพราะถ้าเราซ้อมสิ่งที่ง่ายเกินไปอาจจะทำให้เราเบื่อได้ 3.เนื้อหา เนื้อหาคือส่ิงสำคัญมากที่สุดของการจัดตารางซ้อมกลอง เพราะเนื้อหาจะเกี่ยวเนื่องกับการจัดเวลาฝึกซ้อม และความยาก-ง่าย อีกทั้งเนื้อหาการซ้อม ควรคำนึงถึงการตั้งเป้าหมายด้วยเพราะถ้าเราตั้งเป้าหมายที่ยากเกินไปก็อาจจะทำให้ท้อได้ แต่ถ้าตั้งเป้าหมายที่ง่ายเกินไปก็อาจจะทำให้เบื่อได้ ซึ่งเรื่องการตั้งเป้าหมายผมมีเขียนบทความไว้แล้วท่านสามารถศึกษาเพื่อเติมได้ที่นี้ครับผม https://www.ongartdrums.com/goalfordrumsclass เพราะฉะนั้นเราต้องรักษาสมดุลความยากและความง่ายให้เหมาะสมที่สุด เนื้อหายังสามารถแยกย่อยได้ถ้าเรื่องนั้นยากมากๆ อาจจะย่อยเนื้อหาออกไปเช่น จากที่ต้องตีทั้งข้อหรือทั้งเพลง อาจจะเปลี่ยนมาซ้อมแค่เฉพาะบางท่อนก่อน ค่อยๆเก็บที่ละท่อนแล้วค่อยเอามารวมกันตอนหลังทั้งเพลง แบบนี้ก็จะช่วยทำให้การซ้อมไม่เครียดจนเกินไป 4. ปัญหาที่ต้องแก้ไข สำหรับปัญหาที่ต้องแก้ไขหลายท่านอาจจะสงสัยว่าถ้าซ้อมแล้วจะมีปัญหาได้อย่างไร แน่นอนครับ “กรุงโรมไม่ได้สร้างเสร็จภายในวันเดียว” การซ้อมกลองก็เช่นกัน เราไม่สามารถซ้อมวันเดียวแล้วจะออกมาดีทุกอย่างได้ เพราะการตีกลองต้องใช้การทำงานของกล้ามเนื้อและสมองที่สอดคล้องกัน บางที่เราคิดได้แต่เราทำไม่ได้ หรือทำได้แล้วแต่ยังไม่คล่อง เป็นต้น หลังการซ้อมเราควรนั้งวิเคราะห์สิ่งที่เราซ้อมไปวันนี้ว่ามีตรงไหนบ้างที่ยังไม่ดีหรือสามารถดียิ่งขึ้นได้อีก ให้เราจดใส่ตารางซ้อมเพื่อพอถึงวันที่ต้องซ้อมครั้งต่อไปเราอาจจะเริ่มด้วยการแก้ปัญหาที่เราจดไว้ก่อน ก่อนที่จะเริ่มซ้อมเรื่องใหม่ เหมือนเป็นการ Warm Up ไปในตัวด้วย ภาพตัวอย่างตารางซ้อมตีกลอง การบันทึกตารางฝึกซ้อมผมจะมีกระบวนการ 2 อย่างด้วยกันคือ การบันทึกก่อนซ้อมกลอง ประกอบด้วย จำนวนครั้ง เวลา และเนื้อหา การบันทึกหลังซ้อมกลอง ประกอบด้วย ปัญหาที่ต้องแก้ไข เป็นอย่างไรกันบ้างครับสำหรับตารางฝึกซ้อมที่ผมนำมาแชร์ ตารางที่ผมใช้ฝึกซ้อมอยู่เป็นประจำและใช้ได้จริง ผมใช้ตั้งแต่สมัยที่เรียนอยู่ในมหาวิทยาลัยจนได้ทุน “ภูมิพล” และทุนอื่นๆ เรียกว่าเป็นสิ่งที่ช่วยให้ผมมีพัฒนาการดีขึ้น และฝึกการจัดการซ้อมมาโดยตลอด สำหรับใครที่นำไปใช้แล้วได้ผลก็ฝากนำมาบอกผมด้วยนะครับ ผมจะดีใจมากๆที่ได้แชร์ให้ทุกท่านทราบและนำไปใช้ ยิ่งถ้าได้ผลกับคนอื่นด้วยจะดีใจมากๆเลยครับ และผมยังมีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับการสอนตีกลองอีกมากมาย ถ้าใครชอบบทความของผมก็ฝากติดตามผลงานของผมทางเว็ปไซค์ และฝาก กดไลค์ กดแชร์ เพื่อเป็นกำลังใจให้กับผมด้วยนะครับ สำหรับท่านใดที่อยากรู้เรื่องการตีกลองลึกลงไปกว่านี้ก็สามารถสมัครมาเรียนตีกลองได้นะครับ ที่โรงเรียน Ongartdrums School โดยครูเอิร์ธจะรอสอนทุกท่านอย่างตื่นเต้นอยู่นะครับ แล้วพบกันนะครับ ขอบพระคุณทุกท่านที่ติดตามบทความสอนกลองของผมครับ ขอบคุณครับ ติดต่อเรียนกลอง Ongartdrums School (ครูเอิร์ธ) https://www.ongartdrums.com/contact.html ดาวโหลดตารางซ้อมตีกลองได้ที่นี่เลยครับ
0 Comments
Leave a Reply. |