ทำไมต้องทำซ้ำๆเวลาซ้อมกลอง
หลายคนอาจจะเข้าใจเรื่องนี้ดีอยู่แล้วแต่ผมจะลงลึกถึงรายละเอียดและข้อดีว่าทำไมถึงต้องซ้อมซ้ำๆ เวลาที่ผมสอนลูกศิษย์แน่นอนว่าหลายท่านก็ยินดีที่จะทำซ้ำ เพราะรู้สึกอยากจะทำแบบฝึกหัดนี้ให้ได้ แต่คำถามคือทำซ้ำถึงเมื่อไหร่เราถึงจะเรียกว่าทำได้แล้ว ส่วนบางท่านก็ทำแค่ 1-2 รอบก็รู้สึกว่าอันนี้ตีได้แล้วอยากเปลี่ยนข้อแล้ว เดี๋ยววันนี้เรามาพูดคุยเรื่องนี้กันครับ การเล่นดนตรีต้องใช้อะไรบ้าง ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนเวลาดนตรี คือการใช้ กล้ามเนื้อ สมอง อารมณ์ความรู้สึก สัมพันธ์กันในขณะที่เล่นและใช้สายตาในการอ่านโน้ตอีกด้วย เป็นเรื่องยากมาที่เราต้องใช้ทุกอย่างที่ผมได้กล่าวมาในคราวเดียวโดยที่ไม่มีการฝึกซ้อม การเรียนตีกลองจะต้องมีแบบฝึกหัดต่างๆ โน้ตเพลง การใช้รูปแบบมือต่างๆ และอื่นๆ ดังนั้นสิ่งที่ทำให้เราทำได้ดีและมีแบบแผนก็คือการฝึกซ้อมหรือการทำซ้ำๆนั่นเอง การฝึกซ้อมคืออะไร การฝึกซ้อมก็คือการทำซ้ำในส่ิงที่เรายังทำไม่ได้ให้มีความชำนาญ เกิดจากการทำซ้ำๆโดยการทำซ้ำๆมีกระบวนการที่ทำให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็น การจัดตารางการซ้อม การวิเคราะห์โน้ตก่อนเล่น การเตรียมร่างกายฝึกซ้อม (บทความการจัดตารางการซ้อมกลอง https://www.ongartdrums.com/howtoscheduledrumspractice/6744491) การฝึกซ้อมที่ดีย่อมส่งผลต่อการแสดงบนเวที ผลของความสำเร็จเกิดขึ้นบนเวทีแต่ผลสำเร็จที่แท้จริงมาจากการฝึกซ้อม ถ้าฝึกซ้อมดีบนเวทีก็จะดีไปด้วยอย่างน้อยก็ช่วยให้เราลดความกังวลไปได้ ดังนั้นการฝึกซ้อมและการแสดงบนเวทีมีส่วนเกี่ยวเนื่องกันอย่างมาก ทำไมเราต้องซ้อมเมื่อบางอย่างเราสามารถทำได้ตั้งแต่ครั้งแรกที่เจอ แน่นอนว่าเรื่องบางเรื่องเราสามารถทำได้เลยโดยที่ไม่ต้องฝึกซ้อม แต่การซ้อมดนตรีไม่ได้วัดกันที่ว่าเราทำได้หรือไม่ได้แค่นั้น เราต้องดูเรื่องของ เสียงที่ออกมา ความมั่นคงของจังหวะ อารมณ์ความรู้สึกในขณะเล่น จินตนาการ บางคนที่คิดว่าตัวเองทำได้ตั่งแต่รอบแรกก็จะคิดว่าเราทำได้แล้ว แต่พอสักพักนึกกลับมาให้เล่นอีกทีก็จะเล่นผิดบ้าง หรือจำไม่ได้บ้าง เลยทำให้ไม่เกิดความมั่นคง อย่าลืมว่าการแสดงดนตรีเราไม่ได้มีโอกาสผิดเหมือนตอนซ้อมอยู่ในห้องซ้อม ถ้าเราเล่นผิดคนดูก็จะไม่ดูเรา ถ้าเราเล่นผิดคนดูก็จะไม่เชื่อมั่นในตัวเรา ดังนั้นทุกการแสดงเรามีโอกาสเล่นแค่เพียงครั้งเดียว เราจะเลือกว่าเราจะผิดในห้องซ้อมแล้วทำให้ดีขึ้น ทำซ้ำๆจนกว่าจะดี หรือซ้อมแบบผ่านๆแล้วไปผิดบนเวที การซ้อมต้องโฟกัสที่อะไรบ้าง ผมชอบยกตัวอย่างการพูดของมนุษย์เราตั้งแต่เด็กๆ คนเราจะค่อยๆฝึกพูดเป็นคำๆ เรียก พ่อ แม่ หรือพูดเป็นคำๆ พอโตมาหน่อยก็เริ่มพูดเป็นประโยค ลำดับต่อไปก็เริ่มพูดได้ประโยคที่ยาวขึ้น ต่อไปก็เริ่มพูดตอบโต้โดยใช้ความรู้สึกแทนที่จะต้องคิดคำต่างๆให้ออกมาเป็นประโยค จนทุกวันนี้เราไม่ได้มองไปในตอนที่เราเริ่มฝึกพูดแล้วเพราะเราได้ใช้มันทุกวันจนเกิดเป็นความชำนาญ ที่จะสามารถพูดคำต่างๆตามที่ใจเราอยากพูดได้ ไม่ต้องคิดคำที่จะพูดแบบเด็กๆแล้ว การซ้อมกลองก็เป็นเหมือนการฝึกพูด ที่ตอนแรกเราจะรู้สึกว่าเรายังตีได้เป็นแค่จังหวะๆ เสร็จแล้วเราก็เริ่มเล่นได้จังหวะที่ยาวมากขึ้น ต่อไปก็มีการใช้เทคนิคที่ยากมากขึ้น เสียงกลองเราก็เริ่มดีขึ้นตามลำดับ เริ่มมีการใส่จินตนาการต่างๆเข้าไป คิดประดิษฐ์เสียงใหม่ๆตามที่เราอยากจะเล่น เห็นไหมครับว่าการพัฒนาการคล้ายๆกัน การซ้อมกลองก็เหมือนกับว่าเราทำบางอย่างได้ในรอบเดียวก็จริง แต่ก็ควรจะโฟกัสที่ด้านอื่นด้วย ผมจะลำดับเป็นข้อให้ตามนี้ครับ
ทั้งหมดนี้เหมือนเป็น Checklist ที่ผมให้ไว้ลองเอาไปใช้ในตอนซ้อมเพื่อเป็นการเช็คตัวเราเองด้วยนะครับ แต่สิ่งที่สำคัญมากๆคือเราต้องปรับทัศนะคติของเราที่มีต่อการฝึกซ้อมก่อน ต้องเข้าใจว่าการซ้อมกลองสำคัญ และมีประโยชน์อย่างไร เรื่องนี้ลูกศิษย์ของทุกคนผมทราบเป็นอย่างดีเพราะจะมีการปรับทัศนคติก่อนเรียนตั้งแต่ครั้งแรกๆที่เราเจอกัน สุดท้ายนี้ยิ่งซ้อมเยอะเท่าไหร่ก็ยิ่งดีกลับตัวเราเอง อย่าลืมซ้อมกลองกันเยอะๆนะครับ แล้วพบกันในบทความหน้าครับ ขอบพระคุณทุกท่านที่ติดตามอ่านบทความของผมนะครับ แล้วถ้าคิดว่าชอบหรือบทความนี้มีประโยชน์กับท่าน ฝากกดไลค์กดแชร์ให้มีคนเข้ามาอ่านเยอะๆนะครับ และเป็นกำลังใจให้ผมด้วยครับ ขอบพระคุณมากครับ ติดต่อเรียนตีกลอง Ongartdrums School https://www.ongartdrums.com/contact.html
0 Comments
Leave a Reply. |